น้ำบาดาลจัดว่าเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ใกล้ตัวพวกเรา และมีประโยชน์อย่างมากทั้งในด้านการอุปโภค และบริโภค แต่เรากลับไม่ค่อยรู้เรื่องราวของน้ำบาดาลมากนัก วันนี้เราจะหยิบข้อมูลเกี่ยวกับน้ำบาดาลที่เค้าได้รวบรวมโดยหน่วยงานของรัฐอย่างกรมทรัพยากรน้ำบาดาล

สถานการณ์น้ำบาดาลของประเทศไทย

เรามาดูกันว่าตอนนี้ไทยเราใช้น้ำบาดาลอย่างไรบ้าง ไทยเราเองก็ได้นำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เยอะมากในแต่ละปี จากการสำรวจบอกว่าเราใช้น้ำบาดาลไปทั้งหมด 14,741 ล้านลูกบาศก์เมตร แยกออกเป็นภาคเหนือ 5,762 ภาคอีกสาน 4,680 ภาคกลาง 2,560 ภาคใต้ 977 ภาคตะวันตก 392 และภาคตะวันออก 370 ถามว่าวิกฤติไหมบอกเลยว่าน่าเป็นห่วงเล็กน้อย หากใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจจะทำให้น้ำบาดาลหมดเร็วกว่าที่คิด

Groundwater-pic

โครงการสำคัญของการพัฒนาแหล่งน้ำ

ข้อมูลต่อไปเป็นโครงการสำคัญเกี่ยวกับการรักษาน้ำบาดาล จากด้านบนเราจะเห็นว่าเรามีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เยอะมาก ทำให้ทางรัฐต้องมีการพัฒนาแหล่งน้ำใต้ดิน ด้วยการทำโครงการเติมลงสู่ใต้ดินเพื่อให้พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ในอนาคตอันใกล้กำลังมีการพัฒนาโครงการลักษณะนี้ไปทั่วประเทศอีกถึงเกือบ 2,000 แห่ง ซึ่งจะเป็นภาคเหนือทั้งตอนล่างและตอนบน จากนั้นจะพัฒนาไปสู่พื้นที่อื่นต่อไป อีกโครงการหนึ่งเป็นการพัฒนาบ่อวงร้าง ให้เป็นแหล่งเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำใต้ดิน น้ำบาดาลให้ดีขึ้น

คุณสมบัติของแร่ธาตุที่อยู่ในน้ำบาดาล

น้ำบาดาลนั้น นอกจากจะนำขึ้นมาใช้ในด้านอุปโภคบริโภคแล้ว ตัวน้ำบาดาลเองก็มีแร่ธาตุคุณภาพสูงอยู่ด้วย หนึ่งในนั้นคือ แร่ธาตุโซเดียม (Na) แร่ธาตุตัวนี้มีในน้ำบาดาลเยอะมาก ตัวมันเองก็มีประโยชน์ต่อคน สัตว์ และพืชด้วย ไม่ว่าจะเป็นช่วยเรื่องของกล้ามเนื้อให้หดตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหาร รักษาสมดุลของน้ำ และมีประโยชน์ต่อพืชทนเค็ม (พืชบางชนิดหากได้รับโซเดียมน้อยเกินไป อาจจะทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อเยื่อตาย) ซึ่งนอกจากแร่ธาตุตัวนี้แล้วยังมีอีกหลายตัวอยู่ในน้ำบาดาลด้วย ไม่ว่าจะเป็น โพแทสเซียม, เหล็ก, สังกะสี, แมงกานีส เป็นต้น

ขั้นตอนการขุดเจาะน้ำบาดาล

การขุดเจาะน้ำบาดาลนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราคิดจะทำก็ทำได้เลย เนื่องจากการขุดเจาะน้ำบาดาลมีผลต่อสิ่งแวดล้อมและอื่นๆเลยต้องมีขั้นตอนการขอให้เรียบร้อย เริ่มจากเข้าไปขอใบอนุญาต เลือกขนาดในการขุดเจาะ จากนั้นให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่รับรอง จากนั้นให้หน่วยงานพิจารณาแล้วจึงจะถือว่าถูกต้อง รายละเอียดของการขออนุญาตสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล