Ramsar

ทรัพยากรบางอย่างนั้นก็มีการใช้แล้วหมดไปหรือแปลเปลี่ยนสภาพอย่างเช่นน้ำ ซึ่งทั่วโลกกำลังจับตาดดูรวมถึงช่วยกันอนุรักษ์จากอนุสัญญาแรมซาร์ไซด์ (Ramsar Convention on Wetlands) เป็นสัญญาที่กล่าวถึงข้อตกลงในการอนุรักษ์หรือรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึงทำแผนการพัฒนาและบริหารการจัดการอย่างมีคุณภาพ อนุสัญญาแรมซาร์ไซด์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1971 ณ ประเทศอิหร่าน เมือง แรมซาร์ และเป็นรูปเป็นร่างเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ.1975 คือประมาน 4 ปีหลังจากนั้น เพราะว่าในอนุสัญญากำหนดไว้ว่าต้องมีประเทศเข้าร่วมเป็นอย่างน้อย 7 ประเทศถึงจะมีผลบังคับใช้ได้จริง ซึ่งจากอนุสัญญานี้ปัจจุบันมีประเทศเข้าร่วมแล้วกว่า 170 ประเทศ

สำหรับประเทศไทยนั้นมีการเข้าร่วมอนุสัญญาอย่างจริงจังวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) ซึ่งเริ่มวางแผนเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยกรมป่าไม้และผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2540 พื้นที่แห่งแรกที่ประเทศไทยได้ประกาศให้เป็นพื้นที่อนุสัญญาแรมซาร์ไซด์คือ พรุควนขี้เสียน อยู่ในจังหวัด.พัทลุง เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ปาทะเลน้อย ประเทศไทยเป็นลำดับที่ 948 ในอนุสัญญาแรมซาร์ ประโยชน์ที่จะได้จากพื้นที่ชุ่มน้ำคือ ทำหน้าที่เก็บกักน้ำฝนอีกทั่งยังเป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่เป็นส่วนหนึ่งในการผลิตทำให้เกิดเป็นห่วงโซของอาหาร และบางที่นั้นอาจจะมีใช้งานในลักษณะอื่นเช่น ที่ท่องเที่ยว

Park-Ramsar

โดยที่ประเทศไทยนั้นมีการจัดลำดับความสำคัญตามอนุสัญญาแรมซาร์มากถึง 19,400 แห่งโดยแบ่งได้ดังนี้

พื้นที่ซึ่งมีความสำคัญในท้องถิ่นประมาน 19,000 แห่ง

พื้นที่ซึ่งมีความสำคัญระดับชาติประมาน 48 แห่ง

พื้นที่ซึ่งมีความสำคัญนานาชาติประมาน 61 แห่ง

พื้นที่ซึ่งมีความสำคัญควรได้รับความคุ้มครองและฟื้นฟูประมาน 28 แห่ง

พื้นที่ซึ่งมีความสำคัญระดับประเทศที่ขึ้นทะเบียนอนุสัญญาแรมซาร์ 12 แห่ง

Hat-chao-mai

จะขอยกตัวอย่างสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในอนุสัญญาแรมซาร์ ได้แก่หาดเจ้าไหม อยู่ที่จังหวัดตรังระหว่างอำเภอกันตัง และอำเภอสิเกา ซึ่งเมื่อท่านไปถึงแล้วจะได้พบกับความสวยงามที่นับว่าเป็นโชคดีในการเก็บรักษาไว้ เดินทางสะดวกสามารถขับรถยนต์ไปได้อีกทั้งยังมีบริการที่พักแบบบ้านพักหรือต้องการใกล้ชิดธรรมชาติก็สามารถที่จะเลือกกางเต็นท์ได้เช่นกัน มีบริการร้านอาหารและร้านขายของให้แก่นักท่องเที่ยว บริเวณนั้นประกอบไปด้วยเกาะอีก 6 แห่งที่หากท่านต้องการไปเที่ยวก็มีเรือโดยสารคอยให้บริการ

1.เกาะเจ้าไหม

2.เกาะแหวน

3.เกาะกระดาน

4.เกาะเชือก

5.เกาะเมง

6.เกาะมุกด์

และยังมีพื้นที่ให้เดินสำรวจอย่างเถ้าเจ้าไหม ถ้ำมรกต บ่อน้ำร้อน ซึ่งหากเดินทางไปประมานเดือน กรกฎาคม – กันยายน อาจจะต้องเสียใจถ้าต้องการไปบริเวณถ้ำมรกต เกาะกระดาน เกาะเชือก และเกาะแหวน เพราะเป็นช่วงที่มีมรสุมบ่อยทางเจ้าหน้าที่อุทยานจะปิดทำการท่องเที่ยวตามเกาะดังกล่าว