น้ำจืดถือว่าเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเพื่อคอยหล่อเลี้ยงเหล่าบรรดาสิ่งมีชีวิตบนโลกทั้งหลายให้สามารถมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ เป็นสิ่งสำคัญที่คน สัตว์ และพืชแทบทุกชนิดจำเป็นต้องใช้เพื่อการดำรงชีพหากขาดน้ำจืดก็คงจะไม่สามารถมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้บนโลกใบนี้อย่างแน่นอน เมื่อเป็นเช่นนั้นบริเวณใดก็ตามที่มีแหล่งน้ำจืดจึงเป็นบริเวณที่มีความสำคัญอย่างที่สุด คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณนั้นเองจึงจำเป็นจะต้องหวงแหนเป็นเรื่องธรรมดา
เมื่อโลกถูกแบ่งพรหมแดนออกเป็นประเทศต่างๆ นั่นก็หมายความว่าอาณาเขตของโลกใบนี้ทุกพื้นที่ต่างก็มีเจ้าของกันไปหมด แหล่งน้ำจืดในพื้นที่ต่างๆ ด้วยก็เช่นเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นระหว่าง 2 ประเทศนั่นคือ อินเดียกับปากีสถาน ประเด็นหลักของความขัดแย้งนี้ก็คือเรื่องของแหล่งน้ำจืด จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เองทำให้เกิดเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยน้ำของแม่น้ำสินธุขึ้นมา โดยสัญญาดังกล่าวนี้เป็นสัญญาเกี่ยวกับการกระจายแหล่งน้ำระหว่างประเทศอินเดียกับปากีสถาน โดยสนธิสัญญาดังกล่าวมีนายหน้าก็คือธนาคารโลก สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวนี้ถูกลงสนามที่เมืองการาจี เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2503 ในการเซ็นสนธิสัญญาดังกล่าวมีการยินยอมของนาย Jawaharlal Nehru นายกรัฐมนตรีของอินเดีย กับ นาย Ayub Khan ประธานาธิบดีของปากีสถาน เป็นผู้ร่วมลงนาม ตามข้อตกลงของการเซ็นสัญญาดังกล่าวได้มีการะบุเอาไว้เกี่ยวกับการควบคุมแม่น้ำทั้ง 3 สายของฝั่งตะวันออก ประกอบไปด้วยแม่น้ำ Beas, Ravi และ Sutlej เป็นของประเทศอินเดีย ส่วนในด้านของการควบคุมน้ำฝั่งตะวันตกที่ประกอบไปด้วยแม่น้ำ Indus, Chenab และ Jhelum เป็นของปากีสถาน อย่างไรก็ตามแม้จะมีการทำสนธิสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นแต่ก็ยังคงมีข้อถกเถียงที่ว่าด้วยเรื่องของบทบัญญัติว่าแท้จริงแล้วน่านน้ำต่างๆ ของ 2 ประเทศควรจะมีการแบ่งกันอย่างไร เพราะตามรูปแบบของสนธิสัญญาได้มีการอนุญาตให้อินเดียสามารถใช้งานเพื่อการชลประทานได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขนส่ง, การใช้เพื่อผลิตพลังงาน ในน่านน้ำที่มีการไหลผ่านจากอินเดียไปยังปากีสถาน จากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้จึงทำให้ปากีสถานค่อนข้างที่จะมีความเกรงกลัวว่าแหล่งที่มาหลักของน้ำคือแม่น้ำสินธุที่พื้นที่ตั้งอยู่ในประเทศอินเดียจะทำให้พวกเขาเกิดภัยแล้งและความอดอยากได้หากว่าแม่น้ำแห้งขอด
อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ที่มีการเซ็นสนธิสัญญาว่าด้วยเรื่องของน้ำ อินเดียกับปากีสถานเองก็ไม่เคยมีปัญหาถึงขนาดเป็นสงครามกันจากสาเหตุตรงนี้ เพราะความขัดแย้งหรือข้อพิพาทส่วนใหญ่จะถูกตัดสินโดยกระบวนการทางกฎหมายภายใต้กรอบของสนธิสัญญา ต้องยอมรับว่านี่เป็นสนธิสัญญาทางน้ำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดสัญญาหนึ่งของโลก